Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

- วัดกองกาน


วัดกองกาน

ที่ตั้ง : ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

จุดเด่น : พระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่ม

ประวัติย่อ : ผู้ครองนคร ในล้านนาประเทศ อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และเชียงแสน ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือในพระพุทธศาสนา ได้มาแผ้วถางป่าในบริเวณนี้ และสร้างเป็นวัดพร้อมกับได้ก่อพระพุทธรูปขึ้น ได้ให้ชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดศรีเมืองมา"พระเจ้าตนหลวง เป็นที่เคารพสักการบูชานานคนเป็นเวลานานหลายร้อยปี จนมาถึงสมัยบ้านเมืองก็เกิดกลียุค ข้าวยากหมากแพง ผู้คนอพยพถิ่นที่อยู่ ทำให้วัดวาอาราม ขาดการเอาใจใส่ดูแล ทำให้วัดศรีเมืองมา ได้ร้าง เสนาสนะทรุดโทรมพังทลายลงไป จนกลายเป็นป่าดงพงทึบ ส่วนพระเจ้าตนหลวง ยังประดิษฐานตั้งมั่นไม่เป็นอันตราย มีแต่เครือเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมองค์พระ มองแทบไม่เห็นจนมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 23 ประมาณปี พ.ศ.2380-2390 ได้มีผู้คนมาอาศัยทำไร่ทำสวน แผ้วถางป่าไม้ ก็พบเห็นพระพุทธรูปอยู่ในวัดร้าง ซึ่งมีเครือเถาวัลย์ปกคลุม เกิดความศรัทธาปสาทะ ในองค์พระพุทธรูปที่มีพระพุทธรูปลักษณะงดงาม จึงช่วยกันแผ้วถางทำความสะอาดองค์พระพุทธรูปและลงรักปิดทอง ทำให้พระพุทธรูปสวยงามเปล่งปลั่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสร้างวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และตั้งเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ร้างไปนาน

- วัดฟ้าเวียงอินทร์ (วัดสองแผ่นดิน)



วัดฟ้าเวียงอินทร์ (วัดสองแผ่นดิน)

ที่ตั้ง : ต. เปียงหลวง อ. เวียงแหง ติดชายแดน

จุดเด่น : เจดีย์

ประวัติย่อ : วัดฟ้าเวียงอินทร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยใหญ่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย หอสวดมนต์ หอฉัน ศาลาจำศีล และกุฏิสงฆ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีเจดีย์เป็นปูชนียวัตถุ วัดนี้ตั้งอยู่ที่บ้านหลักแต่งตรงชายแดนไทย-พม่าพอดี สมัยก่อนบริเวณบ้านหลักแต่งนี้ถือเป็นเขตอิทธิพลของขุนส่า อาณาเขตของวัดนี้จึงนับเป็นดินแดนเดียวกันแต่เมื่อขุนส่ามอบตัวแก่รัฐบาลทหารพม่า ดินแดนวัดจึงถูกแยกเป็นสองส่วน มีเจดีย์สีเหลืองทองอร่ามอยู่ในแดนไทย

- พระบรมธาตุแสนไห


พระบรมธาตุแสนไห

ที่ตั้ง : บ้านมหาธาตุ ตำบลแสนไห อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

จุดเด่น : เจดีย์ เก็บพระธาตุ , วิหาร

ประวัติย่อ : เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแต่มาได้รับการบูรณะในพ.ศ. 2457 เป็นปฏิมากรรมผสมระหว่างพม่าและล้านนาไทย ซึ่งการก่อสร้างทับพระธาตุเดิมที่มีขนาดเล็ก โดยของใหม่มีสันถาร 8 เหลี่ยม สันนิษฐานว่าที่นี่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งยกทัพไปยังเมืองอังวะของพม่าเมื่อปี พ.ศ. 2147 หลังจากประชุมพลที่เมืองงาย จึงเสด็จไปทางเมืองห้างหลวงซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบันเพราะมีคูเมืองล้อมยาวกว่า 2 กิโลเมตร และเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับเมืองอังวะของพม่า เชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จมาพักทัพที่พระบรมธาตุแห่งนี้และสร้างบ่อน้ำใช้ส่วนพระองค์และช้างศึกตรงบริเวณด้านหน้าเนินเขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำช้าง ประเพณีที่สำคัญของวัดนี้ คือ งานสรงน้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี

- วัดถ้ำตับเต่า



วัดถ้ำตับเต่า

ที่ตั้ง : บ้านตับเตา ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร

จุดเด่น : ถ่ำตับเต่า , หอไตรกลางน้ำ

ประวัติย่อ : ภายในบริเวณวัดมีความสวยงาม ร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่า มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน

- วัดดอยแม่ปั๋ง




วัดดอยแม่ปั๋ง 

ที่ตั้ง : หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ (ถนนเชียงใหม่-แม่โจ้-พร้าว (ทางหลวงหมายเลข 1001) เป็นระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร)

จุดเด่น : วิหารไม้ , ศาลาการเปรียญที่ประดิษฐาน รูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง ตอนถือธุดงควัตร , พิพิธภัณฑ์มณฑป ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนและอัฐิรวมทั้ง อัฐบริขารของหลวงปู่แหวน

ประวัติย่อ : วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรรษาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๕ จนถึงมรณภาพในพ.ศ. ๒๕๒๘ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า “โรงย่างกิเลส” หรือ “โรงไฟ” และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง

- วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร



วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร 

ที่ตั้ง : ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร

จุดเด่น : วิหาร , เจดีย์

ประวัติย่อ : วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

- วัดพระธาตุดอยน้อย



วัดพระธาตุดอยน้อย

ที่ตั้ง : ต.ดอยหล่อ อ.จอมทอง ตามทางหลวงหมายเลข 108 กม.ที่ 43-44

จุดเด่น : เจดีย์

ประวัติย่อ : เป็นวัดโบราณ อายุกว่า 1,300 ปี มีประวัติว่าสร้างโดยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ. 1201 มีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย ได้แก่ พระบรมธาตุ โข่งพระ (กรุพระ) โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมายบริเวณวัดตั้งอยู่บนเขา ติดลำน้ำปิง มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ

- หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง



หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง

ที่ตั้ง : ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง

ข้อมูล : หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง สินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในหมู่นักท่องเที่ยวมีชื่อเสียงในการทำร่ม ของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตอำเภอสันกำแพงห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ตาม ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กม.มีทางแยก ซ้ายมือเข้าไปอีกประมา 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดิน ชมการทำร่ม ซึ่งส่วนมากจะทำกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้าน เพื่อผึ่งแดดให้ แห้ง ทำให้แลดูสวยงามอย่างยิ่งด้วยสีสัน และลวดลายบน ร่มนั้นสะดุดตาผู้พบเห็น ร่มที่ผลิตในหมู่บ้านบ่อสร้างนี้มี 3 ชนิด ด้วยกันคือ ร่มที่ทำด้วย ผ้าแพร ผ้าฝ้ายและกระดาษสา ซึ่งแต่ละชนิดมีวิธี ทำอย่างเดียวกัน ถ้าหากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้น ตอนการผลิต เจ้าของบ้านก็จะทำการอธิบายตั้งแต่การทำกระดาษสาไปจนถึงวาด ลวดลายบนร่มให้ชม ทั้งนี้เพราะการทำกระดาษสายังใช้กรรมวิธีเก่าแก่ที่น่าสนใจมาก โดย ใช้วิธีง่าย ๆ และส่วนใหญ่ทำด้วยมือ

- หมู่บ้านทำกระดาษสา



หมู่บ้านทำกระดาษสา 

ที่ตั้ง : ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ข้อมูล : หมู่บ้านต้นเปาเป็นชุมชนมีชื่อเสียงด้านการผลิตกระดาษสามาเป็นระยะเวลานานกว่าร้อยปี โดยชาวบ้านจะผลิตกระดาษสาตามความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันมีกระดาษสาประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การ์ด สมุดโน๊ต และสมุดภาพ ฯลฯ รวมถึงชาวต่างประเทศหันมานิยมใช้กระดาษสาเพิ่มมากขึ้นด้วย ทำให้กระดาษสาเป็นสินค้ายอดนิยมเพราะสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลาย

- หมู่บ้านปั้นหม้อ เหมืองกุง



หมู่บ้านปั้นหม้อ เหมืองกุง 

ที่ตั้ง : ถนนเชียงใหม่-หางดง อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่

ข้อมูล : การปั้นหม้อน้ำและน้ำต้นถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบ้านเหมืองกุง ชาวบ้านจะมีความถนัดและทำกันมากเป็นพิเศษ ในอดีตจะทำกันเกือบทั้งปีและยิ่งทำกันมากในช่วงฤดูแล้ง โดยขุดดินจากที่นาใกล้หมู่บ้าน พอทำเสร็จก็จะใส่เกวียนไปขายยังที่ต่างๆ จนผู้คนทั่วไปรู้จักชื่อเสียงของบ้านเหมืองกุงเป็นอย่างด